ระบบการปรับปรุงคุณภาพปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
เป็นระบบการนำสิ่งปฎิกูลฯ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบสนองนโยบายด้านพลังงานทดแทนได้ กล่าวคือ นำสิ่งปฏิกูลฯไปผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพเพื่อเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ หรือเป็นวัตถุดิบทดแทน ในเตาเผาซีเมนต์ และเตาเผาอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำเชื้อเพลิงทดแทนจากสิ่งปฎิกุลฯ มาใช้ในเตาเผาอุตสาหกรรมแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรม จัดสร้างขึ้น และให้สิทธิแก่บริษัท อัคคีปราการ จำกัด (มหาชน) (บริษัทในเครือ เบตเตอร์) เป็นผู้บริหารและประกอบการ เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี สามารถให้บริการเผากำจัดของเสียอันตราย ทั้งที่อยู่ในรูปของแข็ง กากตะกอน (Sludge) ของเหลว ตัวทำละลาย น้ำมัน ก๊าซ และมูลฝอยติดเชื้อตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขได้ถึง 48 ตันต่อวัน หรือ 15,000 ตันต่อปี เราสามารถแบ่งสิ่งปฏิกูลฯ ที่นำมาปรับปรุงได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
- – สิ่งปฏิกูลฯ ที่เป็นของแข็ง (Solid Blending) สำหรับการทำเป็นวัตถุดิบทดแทน
- – สิ่งปฏิกูลฯ ที่เป็นของเหลว (Liquid Blending) สำหรับการทำเป็นเชื้อเพลิงทดแทน
โดยสิ่งปฏิกูลฯ ที่นำมาปรับคุณภาพได้จะต้องถูกทดสอบองค์ประกอบ (Parameter) ด้านค่าพลังงานเพิ่มเติม เช่น จุดวาบไฟ ค่าความร้อน ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความหนืด ฯลฯ เป็นต้น